วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบประสาท


ระบบประสาท

ระบบประสาท ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลังและระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( peripheral nervous system หรือ PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) และเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) และระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) ระบบประสาทรอบนอกหรือระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกทั้งหมด เส้นประสาทที่ติดต่อระหว่างหน่วย รับความรู้สึกกับระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับหน่วยปฏิบัติงาน

-ระบบประสาทประกอบด้วยสมอง (Brian) และไขสันหลัง (Spinal  Cord) ทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงาน และการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย
 
ระบบประสาทส่วนกลาง  (Central Nervous System : CNS)   ประกอบด้วย
1. 
สมอง  บรรจุในกะโหลกศีรษะ มีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับความคิด ความจำ การพูด ฯลฯ

* สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย
-  ซีรีบริม (Cerebrum) ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด  การมองเห็น  การดมกลิ่น   การชิมรส
-  ไฮโพทาลามัส (Hypothathalamus) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย การควบคุมอารมณ์และความรู้สึก
-  ทาลามัส (Thalamus) เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้น ๆ
* สมองส่วนกลาง  เป็นส่วนที่ต่อจากสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
* สมองส่วนท้าย  ประกอบด้วย
-  พอนส์ (Pons) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
-  ซีรีเบลลัม (Cerebellum) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
-  เมดุลลาออบลองกาตา (Medulla Oblongata) ทำหน้าที่ศูนย์กลางการเต้นของหัวใจ การกลืน  จาม  ไอ  สะอึก  เป็นต้น
2.  ไขสันหลัง เป็น่ส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามช่องกระดูกสันหลัง  ไขสันหลังด้านนอกมีเนื้อสีขาว ไม่มีเซลล์ประสาท ส่วนด้านในเป็นเนื้อสีเทา มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึก เป็นตัวนำสัญญาณข้อมูลจากอวัยวะรับความรู้สึกไปยังสมอง และเซลล์ประสาทสั่งการ เป็นตัวนำสัญญาณคำสังจากสมองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

อวัยวะรับสัมผัส  (Receptor)

ตา  เป็นอวัยวะที่ใช้ในการมองเห็น
ซึ่งประกอบด้วย  
- กระจกตา (Cornea) มีลักษณะโค้งนูน
ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของแสง
- ม่านตา (Iris) เป็นกล้ามเนื้อที่หดและ
ขยายตัวได้ ทำหน้าที่ควบคุมความกว้างของรูม่านตา (Pupil) ในที่มืดม่านตาจะขยายออกเพื่อให้ได้
รับแสงมา  ส่วนในที่สว่างม่านตาจะหดเล็กลงเพื่อลด
ปริมาณแสง
-  เลนส์ตา (Lens) ทำหน้าที่โฟกัสภาพให้
มาตกที่จอตาพอดีโดยการปรับเปลี่ยนรูปร่างของ
เลนส์ตาโดยที่เมื่อมองภาพไกลเลนส์ตาจะแบนลง
เมื่อมองภาพใกล้เลนส์ตาจะกลมมากขึ้น
- จอรับภาพ/จอตา (Retina) เป็นผนังชั้น
ในสุดของลูกนัยน์ตา  มีเส้นใยประสาทรับความรู้สึก
ประกอบด้วย เซลล์รับแสงและเซลล์ประสาท
ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงจากนัยน์ตาให้กลายเป็น
กรแสประสาทส่งสู่สมอง

 หู  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับฟังและการทรงตัว
แบ่งเป็น
-  หูชั้นนอก  ประกอบด้วยใบหูและเยื่อแก้วหู
ใบหูทำหน้าที่รับคลื่นเสียง ผ่านเข้าสู่ช่องหูส่งไปยัง
เยื่อแก้วหู
-  หูชั้นกลาง  ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น คือ
กระดูกค้อน กระดูกทั่งและกระดูกโกลน ทำหน้าที่รับ
คลื่นเสียงส่งต่อไปยังหูชั้นใน ภายในหูชั้นกลางจะมี
โพรงอากาศ เรียกว่า ท่อยูสเตเชี่ยน (Eustachian
Tube) เชื่อต่อหูชั้นกลางกับคอหอย
-  หูชั้นใน  ประกอบด้วย  ท่อรูปหอยโข่ง
(Cochlea) ทำหน้าที่รับเสียง ภายในมีของเหลว
กระดุ้นให้สัญญาณถูกส่งไปยังประสาทรับเสียงเข้าสู่
สมอง
ท่อรูปครึ่งวงกลม  (Semicircular Canal)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว ภายในบรรจุของเหลวมี
เซลล์รับความรู้สึกซึ่งไวต่อการเคลื่อนไหวและการ
ทรงตัวของร่างกาย

 จมูก  เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ ภายในรูจมูกมี
เซลล์รับกลิ่นอยู่ที่บริเวณเยื่อบุจมูก เมื่อมีกลิ่นต่าง ๆ
ผ่านเข้ามาในรูจมูก เลิ่นเหล่านี้จะไปกระทบกับเซลล์
รับกลิ่น เซลล์รับกลิ่นจะส่งความรู้สึกไปยังสมองส่วน
ซีรีบรัม

 ลิ้น  ทำหน้าที่ช่วยในการเคี้ยวอาหาร และรับรส
ประกอบด้วยตุ่มรับรส (Teat Bud) จำนวนมาก
ทำหน้าที่รับสร โดยแบ่งบริเวณที่รับรสต่าง ๆ ดังนี้
-  ปลายลิ้น  ----->  หวาน
-  ด้านข้างลิ้น -----> เค็มและเปรี้ยว
-  โคนลิ้น   ------> ขม

 ผิวหนัง  เป็นบริเวณที่ต้องสัมผัสกับสิ่งเร้าภายนอก
มากมาย ผิวหนังประกอบด้วยปลายประสาทรับความรู้สึก
ซึ่งจะรับรู้ความรู้สึกต่างชนิดกัน เช่นความเจ็บปวด
ความร้อน เย็น แรงกดดัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น