วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556


ระบบย่อยอาหาร
                                                
       ทำหน้าที่ย่อยสลายอาหารที่รับประทานเข้าไปให้เป็นสารอาหาร และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

อวัยวะระบบย่อยอาหารประกอบด้วย


1. ฟัน  (Teeth)
2. ลิ้น  (Tongue)
3. ต่อมน้ำลาย  (Salivary Grand)
4. หลอดอาหาร  (Esophagus)
5. กระเพาะอาหาร  (Stomach)
6. ตับอ่อน  (Pancreas)
7. ตับ  (Liver)
8. ถุงน้ำดี  (Gallbladder)
9. ลำไส้เล็ก  (Small intestine)
ลำไส้เล็ก มี 3 ส่วน  คือ
1.ลำไส้เล็กส่วนต้น  (Duodenum)
2.ลำไส้เล็กส่วนกลาง  (Jejunum)
3.ลำไส้เล็กส่วนปลาย  (Ileum)
10.ลำไส้ใหญ่  (Large intestine)
ลำไส้ใหญ่ มี 5 ส่วน  คือ
1.ลำไส้ใหญ่ส่วนขึ้น(Ascending Colon)
2.ลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (Transverse Colon)
3.ลำไส้ใหญ่ส่วนลง  (Descending Colon)
4.ลำไส้ใหญ่ส่วนโค้ง(Sigmoid Colon)
5.ไส้ติ่ง  (Vermiform Appendix)

11.ไส้ตรง  (Rectum)
12.ทวารหนัก  (Anus) 



กระบวนการในการย่อยอาหาร1. การย่อยเชิงกล  เป็นการเปลี่ยนแปลงอาหารให้มีขนาดอนุภาคเล็กลง โดยการบดเคี้ยวของฟัน



2. การย่อยเชิงเคมี  เป้นการเปลี่ยนแปลงอาหารให้มีขนาดอนุภาคเล็กลง โดยอาศัยเอนไซม์หรือน้ำย่อย
เอนไซม์      
เอนไซม์เป็นสารประกอบประเภทโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่เร่งอัตราการเกิด
ปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย  เอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสารอาหารเรียกว่า "น้ำย่อย" เอนไซม์มีสมบัติที่สำคัญ ดังนี้
-  เป็นสารประเภทโปรตีนที่สร้างขึ้นจากสิ่งมีชีวิต
-  ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยอาหารให้เกิดเร็วขึ้นและเมื่อเร่งปฏิกิริยาแล้วยังคงมีสภาพเดิมสามารถใช้
เร่งปฏิกิริยาโมเลกุลอื่นได้อีก
-  มีความจำเพาะต่อสารที่เกิดปฏิกิริยาชนิดหนึ่ง ๆ 
-  เอนไซม์จะทำงานได้ดีเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์
1.  อุณหภูมิ  เอนไซม์แต่ละชนิดทำงานได้ดีที่อุณหภูมิต่างกัน แต่เอนไซม์ในร่างกายทำงานได้ดี
ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส
2.  ความเป็นกรด-เบส  เอนไซม์บางชนิดทำงานได้ดีเมื่อมีสภาพที่เป็นกรด เช่น เอนไซม์เพปซินใน
กระเพาะอาหาร เอนไซม์บางอย่างทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นเบส เช่น เอนไซม์ในลำไส้เล็ก เป็นต้น
3.  ความเข้มข้น  เอนไซมืที่มีความเข้มข้นมากจะทำงานได้ดีกว่าเอนไซม์ที่มีความเข้มข้นน้อย
การทำงานของเอนไซม์ 1.  เอนไซม์ในน้ำลาย ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบสเล็กน้อย เป็นกลาง หรือเป็นกรดเล็กน้อยจะ
ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำตาลและที่อุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 37 องศาเซลเซียส
2.  เอนไซม์ในกระเพาะอาหาร ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นกรด และที่อุณหภูมิปกติของร่างกาย
3.  เอนไซม์ในลำไส้เล็ก ทำงานได้ดีในสภาวะเป็นเบส และอุณหภูมิปกติของร่างกาย
สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่จะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่สุด ดังนี้
คาร์โบไฮเดรต    -------------->          กลูโคส
โปรตีน              -------------->          กรดอะมิโน
ไขมัน               -------------->          กรดไขมัน + กลีเซอรอล

ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย
อวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์เพศชาย ประกอบด้วย

1. อัณฑะ (Testis) เป็นต่อมรูปไข่ มี 2 อัน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ (Sperm) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย และสร้างฮอร์โมนเพศชายเพื่อควบคุมลักษณะต่างๆของเพศชาย เช่น การมีหนวดเครา เสียงห้าว เป็นต้น ภายในอัณฑะจะประกอบด้วย หลอดสร้างตัวอสุจิ (Seminiferous Tubule) มีลักษณะเป็นหลอดเล็กๆ ขดไปขดมาอยู่ภายใน ทำหน้าที่สร้างตัวอสุจิ หลอดสร้างตัวอสุจิมีข้างละประมาณ 800 หลอด แต่ละหลอดมีขนาดเท่าเส้นด้ายขนาดหยาบ และยาวทั้งหมดประมาณ 800 เมตร
2. ถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum) ทำหน้าที่ห่อหุ้มลูกอัณฑะ ควบคุมอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างตัวอสุจิ ซึ่งตัวอสุจิจะเจริญได้ดีในอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิปกติของร่างกายประมาณ 3-5 องศาเซลเซียส
3. หลอดเก็บตัวอสุจิ (Epididymis) อยู่ด้านบนของอัณฑะ มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ยาวประมาณ 6 เมตร ขดทบไปมา ทำหน้าที่ี่เก็บตัวอสุจิจนตัวอสุจิเติบโตและแข็งแรงพร้อมที่จะปฏิสนธิ
4. หลอดนำตัวอสุจิ (Vas Deferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
5. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal Vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารเพื่อใช้เลี้ยงตัวอสุจิ เช่น น้ำตาลฟรักโทส วิตามินซี โปรตีนโกลบูลิน เป็นต้น และสร้างของเหลวมาผสมกับตัวอสุจิเพื่อให้เกิดสภาพที่เหมาะสมสำหรับตัวอสุจิ
6. ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) อยู่ตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารที่มีฤทธิ์เป็นเบสอ่อนๆ เข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อทำลายฤทธิ์กรดในท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมกับตัวอสุจิ
7. ต่อมคาวเปอร์ (Cowper Gland) อยู่ใต้ต่อมลูกหมากลงไปเป็นกระเปาะเล็กๆ ทำหน้าที่หลั่งสารไปหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

อวัยวะที่สำคัญในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย


1. รังไข่ ( Ovary ) มีรูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยาวประมาณ 2- 36 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 2- 3 กรัม และมี 2 อันอยู่บริเวณปีกมดลูกแต่ละข้างทำหน้าที่ ดังนี้
1.1. ) ผลิตไข่ (Ovum) ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง โดยปกติไข่จะสุกเดือนละ 1 ใบ จากรังไข่ แต่ละข้างสลับกันทุกเดือน และออกจากรังไข่ทุกรอบเดือนเรียกว่า การตกไข่ ตลอดช่วงชีวิตของ เพศหญิงปกติจะมีการผลิตไข่ประมาณ 400 ใบ คือ เมตั้งแต่อายุ 12 ปี ถึง 50 ปี จึงหยุดผลิต เซลล์ไข่จะมีอายุอยู่ได้นานประมาร 24 ชั่วโมง
1.2 ) สร้างฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ ได้แก่
• อีสโทรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับมดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำนม และควบคุมการเกิดลักษณะต่างๆ ของเพศหญิง เช่น เสียงแหลมเล็ก ตะโพกผาย หน้าอก และ อวัยวะเพศขยายใหญ่ขึ้น เป็นต้น
• โพรเจสเทอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่ทำงานร่วมกับอีสโทรเจนในการควบคุมเกี่ยวกับ การเจิญของมดลูก การเปลี่ยนแปลงเยื่อบุมดลูกเพื่อเตรียมรับไข่ที่ผสมแล้ว
2.ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูก ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก โดยมีปลาย ข้างหนึ่งเปิดอยู่ใกล้กับรังไข่เรียกว่า ปากแตร ซึ่งทำหน้าที่โบกพัดให้ไข่ ที่ตกมาจากรังไข่เข้าไปใน ท่อนำไข่ ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่อสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่ 
3. มดลูก ทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว และเป็นที่เจริญเติบโตของทารกในครรภ์
4. ช่องคลอด ทำหน้าที่เป็นทางผ่านออกของตัวอสุจิเข้าสู่มดลูก เป็นทางผ่านออกของทารก เมื่อครบกำหนดคลอด และเป็นทางที่ประจำเดือนออกมาได้

ระบบขับถ่าย



ระบบขับถ่าย
                                              


                                                
     การขับถ่ายเป็นระบบกำจัดของเสียจากร่างกาย และช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้สมบูรณ์ประกอยด้วย ไต ตับ และลำไส้ เป็นต้น

ของเสียต่าง ๆ ที่ได้จากกระบวนการในร่างกาย จะถูกกำจัดออกไปนอกร่างกาย ได้แก่
-  กากอาหาร(อุจจาระ)จากกระบวนการย่อยอาหาร จะขับถ่ายออกทางทวารหนัก
-  แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จากกระบวนการหายใจ จะขับถ่ายออกทางจมูก
-  เหงื่อ   จะถูกขับออกทางผิวหนัง
-  ปัสสาวะ  จะถูกขับออกทางท่อปัสสาวะโดยไตทำหน้าที่ในการกรอง
ไต (Kidney) เป็นอวัยวะคล้ายเม็ดถั่ว  มีสีแดงแกมน้ำตาล  ไตของคนเรามี 2 ข้าง อยู่บริเวณช่องท้องด้านหลังใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว ประกอบด้วย
เนื้อเยื่อ 2ชั้น ชั้นนอกเรียกคอร์เทกซ์(Cortex) ชั้นนอกเรียกว่า เมดุลลา(Medulla)

-  กรวยไต
-  หน่วยไต (Nephron) มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่ และมีหลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกกระจายเต็มไปหมด  ไตแต่ละข้างมีเนฟรอนประมาณ 1 ล้านหน่วย เชื่อมต่อกับท่อไตฝอย  ซึ่งปลายท่อไตฝอยทั้งหมดไปรวมกันที่ท่อไตเนฟรอนทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดได้แก่  น้ำ เกลือแร่  และยูเรียไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะโดยผ่านไปตามท่อไตฝอยและท่อไต  ซึ่งจะกำจัดออกจากร่างกายทางท่อปัสสาวะต่อไป
 
  

ระบบต่อมไร้ท่อ



ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system เช่น ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต้น

ลักษณะโครงสร้างของต่อมไร้ท่อ

โดยทั่วไป ประกอบด้วย สองส่วนหลักคือ...

1. Parenchyma (เนื้อต่อม) ประกอบด้วย เซลล์เนื้อผิวชนิดที่ เรียกว่า secretory cells และเป็นเซลล์สำคัญที่สร้างฮอร์โมน ซึ่งเซลล์เหล่านี้ อาจเรียงตัวเป็นกลุ่ม (clumps) ขดเป็นกลุ่ม (cord) หรือแผ่น (plates) โดยมีเส้นเลือดฝอยชนิด fenestrated หรือ sinusoid capillaries และเส้นน้ำเหลือง จำนวนมากแทรก เพื่อทำหน้าที่หล่อเลี้ยง และลำเลียงฮอร์โมน ออกจากเนื้อต่อมเข้าสู่วงจรไหลเวียน ของกระแสเลือดไปกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ ตามเป้าหมาย (target organs) ที่อยู่ห่างไกล
2. Stroma (โครงร่างพยุงเนื้อต่อม) ประกอบด้วย เนื้อประสานโดยให้เป็นเปลือกหุ้ม และโครงร่างให้เซลล์ของเนื้อต่อมเกาะ ในต่อมไร้ท่อบางชนิดพบมีส่วน ของเปลือกหุ้มยื่นเข้าไปเนื้อต่อม ออกเป็นส่วน เรียกว่า Trabaeculae

ระบบประสาท


ระบบประสาท

ระบบประสาท ระบบประสาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system หรือ CNS) ประกอบด้วยสมองและไขสันหลังและระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบประสาทรอบนอก ( peripheral nervous system หรือ PNS) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง (cranial nerve) และเส้นประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) และระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) ระบบประสาทรอบนอกหรือระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทรอบนอกประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกทั้งหมด เส้นประสาทที่ติดต่อระหว่างหน่วย รับความรู้สึกกับระบบประสาทส่วนกลาง และเส้นประสาทที่เชื่อมโยงระหว่างระบบประสาทส่วนกลางกับหน่วยปฏิบัติงาน

-ระบบประสาทประกอบด้วยสมอง (Brian) และไขสันหลัง (Spinal  Cord) ทำหน้าที่ร่วมกันในการควบคุมการทำงาน และการรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย
 
ระบบประสาทส่วนกลาง  (Central Nervous System : CNS)   ประกอบด้วย
1. 
สมอง  บรรจุในกะโหลกศีรษะ มีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับความคิด ความจำ การพูด ฯลฯ

* สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย
-  ซีรีบริม (Cerebrum) ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด  การมองเห็น  การดมกลิ่น   การชิมรส
-  ไฮโพทาลามัส (Hypothathalamus) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย การควบคุมอารมณ์และความรู้สึก
-  ทาลามัส (Thalamus) เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้น ๆ
* สมองส่วนกลาง  เป็นส่วนที่ต่อจากสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตา
* สมองส่วนท้าย  ประกอบด้วย
-  พอนส์ (Pons) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
-  ซีรีเบลลัม (Cerebellum) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
-  เมดุลลาออบลองกาตา (Medulla Oblongata) ทำหน้าที่ศูนย์กลางการเต้นของหัวใจ การกลืน  จาม  ไอ  สะอึก  เป็นต้น
2.  ไขสันหลัง เป็น่ส่วนที่ต่อจากสมองลงไปตามช่องกระดูกสันหลัง  ไขสันหลังด้านนอกมีเนื้อสีขาว ไม่มีเซลล์ประสาท ส่วนด้านในเป็นเนื้อสีเทา มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึก เป็นตัวนำสัญญาณข้อมูลจากอวัยวะรับความรู้สึกไปยังสมอง และเซลล์ประสาทสั่งการ เป็นตัวนำสัญญาณคำสังจากสมองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ระบบหายใจ


ระบบหายใจ
                                            
       ระบบหายใจ คือ ระบบที่ร่างกายแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยร่างกายจะรับแก๊สออกซิเจนที่อยู่ภายนอกเข้าสู่ร่างกาย และขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย อวัยวะที่สำคัญในระบบนี้ได้แก่ จมูก 
หลอดลม ปอด กล้ามเนื้อกระบังลมและกระดูกซี่โครง

         เมื่อเราหายใจเข้า อากาศจากภายนอกร่างกายจะผ่านรูจมูกเข้าไปตามช่องจมูก ขนและเยื่อในช่องจมูกจะช่วยกรองฝุ่นละอองที่ปนมากับอากาศไว้ อากาศจะถูกปรับอุณหภูมิและความชื้นให้พอเหมาะกับร่างกาย จึงจะผ่านหลอดคอเข้าสู่หลอดลม และเข้าสู่ปอดในที่สุด ที่ปอดมีถุงลมเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีหลอดเลือดฝอยห้อมล้อมอยู่ เมื่ออากาศมาถึงบริเวณถุงลม อากาศที่มีออกซิเจนสูงจะแพร่ผ่านผนังถุงลมเข้าสู่หลอดเลือดฝอยโดยเข้าไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง จากนั้นจะไหลตามหลอดเลือดกลับเข้าสู่หัวใจเพื่อให้หัวใจสูบฉีดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ขณะที่เลือดถูกลำเลียงไปตามหลอดเลือดนั้นแก๊สออกซิเจนจะแพร่จากเซลล์เม็ดเลือดแดงเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในเซลล์จะแพร่จากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือดและละลายในน้ำเลือด และไหลกลับสู่หัวใจโดยทางหลอดเลือดอีกชนิดหนึ่ง

กระบวนการหายใจ
                                               
ภาพแสดงลักษณะถุงลมในปอดและการแพร่ของแก๊สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
กลไกการหายใจ
  
หายใจออก         หายใจเข้า

ระบบไหลเวียนโลหิต


ระบบไหลเวียนโลหิต
                                                        
       ทำหน้าที่นำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซด์กับของเสียจากเซลล์มาขับทิ้ง นอกจากนี้ ยังนำฮอร์โมนที่ผลิตได้จากต่อมไร้ท่อเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

 (Circulation  System)

ระบบไหลเวียนโลหิต  ประกอบด้วย
1. หัวใจ (Heart)
2. หลอดเลือดแดง (Artery)
3. หลอดเลือดดำ (Vein)
4. หลอดเลือดแดงฝอย (Arteriole)
5. หลอดเลือดดำฝอย (Venule)
มีอวัยวะที่เกี่ยวข้อง  คือ
1. ปอด (Lung)  และ
2. ไต (Kidney) 
การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิ

                       หัวใจของคนเรามีลักษณะเป็นโพรง มี 4 ห้อง โดยแบ่งเป็นห้องบน 2 ห้องเรียก เอเตรียม(Atrium) และห้องล่าง 2 ห้อง เรียกว่า เวนตริเคิล (Ventricle) หัวใจห้องบนซ้ายและล่างซ้ายมีลิ้นไบคัสพิดคั่นฺ(Bicuspid)อยู่ ส่วนห้องบนขวาและล่างขวามีลิ้นไตรคัสพิด(Tricuspid)คั่นอยู่ ซึ่งลิ้นทั้งสองทำหน้าที่คอยปิด-เปิด เพื่อไม่ให้เลืดดไหลย้อนกลับ หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดโดยการบีบตัวและคลายตัวของกล้ามเนี้อหัวใจเป็นจังหวะ ทำให้เลือดไหลไปตามหลอดเลือดต่าง ๆ ห้องเอเตรียมขวาจะรับเลือดจากหลอดเลือดดำ ชื่อ ซุพีเรียเวนาคาวา (Superior Vena cava) ซึ่งนำเลือดมาจากศรีษะและแขน และรับเลือดจากหลอดเลือดดำชื่อ อินฟีเรียเวนาคาวา (Inferior Vena cava) ซึ่งนำเลือดมาจากลำตัวและขาเข้าสู่หัวใจ เมื่อเอเตรียมขวาบีบตัว เลือดจะเข้าสู่เวนตริเคิลขวาโดยผ่านลิ้นไตรคัสพิด  เมื่อเวนตริเคิลขวาบีบตัวเลือดจะผ่านลิ้นพัลโมนารีเซมิลูนาร์(Pulmonary Semilunar Valve) ซึ่งเปิดเข้าสู่หลอดเลือดแดงชื่อพัลโมนารีอาร์เตอรี(Pulmonary Artery) หลอดเลือดนี้นำเลือดไปยังปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส โดยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และรับออกซิเจน เลือดที่มีออกซิเจนสูงนี้จะไหลกลับสู่หัวใจทางหลอดเลือดดำชื่อพัลโมนารีเวน(Pulmonary Vein) เข้าสู่หัวใจห้องเอเตรียมซ้ายเมื่อเอเตรียมซ้ายบีบตัว เลือดก็จะผ่านลิ้นไบคัสพิดเข้าสู่ห้องเวนตริเคิลซ้าย แล้วเวนตริเคิลซ้ายบีบตัวดันเลือดให้ไหลผ่านลิ้นเอออน์ติกเซมิลูนาร์ (Aortic Semilunar Valve) เข้าสู่เอออร์ตา(Aorta) ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่จากเอออร์ตาจะมีหลอดเลือดแตกแขนงแยกไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย